หุ่นจำลอง
วัสดุประ เภทไม่ตีพิมพ์ ที่มีอยู่ในห้องสมุด ได้แก่ โสตทัศนวัสดุชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะการถ่ายทอดความรู้ ได้เป็น 2 ประเภท คือ วัสดุที่เสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวเอง และ วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการนำเสนอ ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้1. วัสดุที่เสนอเรื่องราวได้ด้วยตัวเอง วัสดุประเภทนี้ สามารถเสนอเรื่องราว โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ช่วย
ห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1.1 รูปถ่าย มีทั้งภาพ เขียน ภาพถ่าย หรือ ภาพพิมพ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาห้องสมุด ได้จัดแบ่งหมวดหมู่ ตามลักษณะของภาพ เช่น ภาพสถานที่สำคัญ ภาพบุคคลสำคัญ ภาพที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ภาพ เหตุการณ์ต่าง ๆ ภาพสัตว์ ฯลฯ
1.2 วัสดุลายเส้นหรือวัสดุกราฟิก (Graphic materials) คือวัสดุที่ผลิตขึ้น เพื่อแสดงสัญลักษณ์ หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ช่วยให้ผู้ดูเข้าใจเรื่องราว หรือข้อมูลได้ง่ายขึ้นวัสดุลายเส้นหรือวัสดุกราฟิก เช่น แผนภูมิ แผนสถิต และภาพโฆษณาซึ่งห้องสมุด วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา มีจำนวนน้อยมาก
1.3 แผนที่และลูกโลก ห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา มีทั้งแผนที่ชนิดเป็นแผ่นพับได้ ชนิดสำหรับแขวนผนัง และชนิดเป็นเล่ม ที่ภาษาอังกฤษเรียก Atlas แผนที่และลูกโลกจะใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า วิชาภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ อาณาเขตของประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งของภูเขา แม่น้ำ ที่ราบลุ่ม ฯลฯ
1.4. หุ่นจำลอง คือวัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นมาให้มีสัญลักษณ์เหมือนของจริง หรือเลียนแบบของจริง อาจสร้างให้มีขนาดเล็กกว่าหรือโตกว่าของจริงก็ได้ เพื่อความสะดวกในการศึกษาและจัดเก็บรักษา ห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ได้จัดไว้สำหรับการศึกษา เช่น หุ่นจำลองหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หุ่นจำลองปราสาทหินพิมาย เป็นต้น
2. วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ วัสดุประเภทนี้ การถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ศึกษาค้นคว้า จำเป็นจะต้องใช้ประกอบกับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการนำเสนอเรื่องราว ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะที่ห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา มีอยู่เท่านั้น
2.1 สไลด์ (Slides) เป็นภาพโปร่งใสที่บันทึกอยู่บนฟิล์มหรือกระจก มีทั้งภาพสีและขาวดำ สไลด์มีขนาดต่าง ๆ กัน แต่ที่นิยมใช้กันมากคือขนาด 2x2 นิ้ว ซึ่งถ่ายทำจากฟิล์ม ขนาด 35 มม. ตัดออกทีละภาพแล้วหุ้มกรอบด้วยกระดาษแข็งหรือพลาสติกวัสดุประเภทนี้ห้องสมุดได้จัดแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามเลขทะเบียนที่จัดหาเข้ามา
2.2 ภาพโปร่งใส (Transparencies) วัสดุประเภทนี้ ห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา ได้จัดซื้อบางส่วน และได้ผลิตขึ้นประกอบการเรียนการสอนของครูอาจารย์ ได้จัดเก็บตามลำดับของเลขทะเบียน ซึ่งภาพโปร่งใสนี้ เป็นแผ่นพลาสติกหรืออาซีเตท (Acetate) ใช้กับเครื่องฉายข้ามศีรษะ ภาพโปร่งใสที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ 7x7 นิ้วและ 10x10 นิ้ว
2.3 เทปบันทึกภาพ (Videotape) วัสดุประเภทนี้ ห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา มีจำนวนมาก โดยการจัดซื้อ จัดหา แลกเปลี่ยนและผลิตขึ้นเอง จัดเรียงเข้าตู้ตามลำดับเลขทะเบียน เทปบันทึกภาพ บางทีเรียกว่า เทปโทรทัศน์หรือ วีดิทัศน์จะบันทึกภาพและเสียงไว้ในเส้นเทป ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถลบแล้วบันทึกใหม่หรือบันทึกซ้ำได้ เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียง การใช้จะต้องใช้กับเครื่องเทปบันทึกภาพ(Videotape recording)
2.4 เทปบันทึกเสียง เป็นสื่อที่บันทึกลงบนแผ่นเสียงและเทปบันทึกเสียง เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า ในห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา มีจำนวนมาก เช่น การบรรยายธรรมะของพระนักเทศน์ชื่อดัง การอ่านทำนองเสนาะ ดนตรีการออกเสียง และสนทนาภาษาต่างประเทศ สุนทรพจน์ ปาฐกถา ฯลฯ
2.5 วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials) เป็นวัสดุห้องสมุด ที่เก็บสารนิเทศไว้โดยการแปลงสารนิเทศ ให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเวลาจะค้นหาข้อมูลต้องมีเครื่องมือแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์กลับคืนเป็นภาพและเสียง วัสดุพวกนี้ เช่น
2.5.1 ซีดี–รอม ( CD-ROM = Compact Disc Read Only Memory) เนื่องจาก ซีดี – รอม เป็นวัสดุ ที่เข้ามามีบทบาททางการศึกษาไม่นาน ทำให้วัสดุประเภทนี้ มีจำนวนน้อยในห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต้องการ ในการสืบค้นข้อมูล ก็มีไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงทำให้วัสดุประเภทนี้ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้ได้มากเท่าที่ควร ซีดี –รอม เป็นแผ่นโลหะผสมพิเศษมีความแข็งและเบา ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว บันทึกข้อมูลลงบนพื้นผิวเป็นสัญญาณดิจิตอล สามารถบรรจุข้อความได้มาก 1 แผ่นสามารถเก็บข้อความได้ เท่ากับหนังสือหนาประมาณ 250,000 หน้า คิดเป็นหนังสือประมาณ 500 เล่ม เวลาใช้ต้องมีเครื่องอ่าน ตัวแผ่น โดยใช้แสงเลเซอร์ แล้วแปลงสัญญาณออกทางจอภาพคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีแผ่นซีดี ที่บันทึกสัญญาณเสียงด้วยระบบดิจิตอล เมื่อต้องการแปลงสัญญาณดิจิตอลออกมาเป็นสัญญาณเสียง ต้องใช้เครื่องช่วยอ่านสัญญาณ (เครื่องเล่นซีดี) ถ่ายทอด ผ่านทางเครื่องขยายเสียงซึ่งเครื่องเสียงในปัจจุบันจะมีส่วนที่ใช้เล่นแผ่นซีดีไว้ด้วยนอกเหนือ ส่วนที่ใช้เล่นเทปตลับ (เทปคาสเส็ต) แผ่นซีดีนี้ พัฒนาขึ้นมาแทนแผ่นเสียงในสมัยก่อน ที่ใช้วิธีการบันทึกเสียงไว้โดยทำเป็นร่องขรุขระบนแผ่นครั่งหรือพลาสติก เมื่อมีการหมุน เสียงก็จะเกิดขึ้นตามจังหวะการสั่นสะเทือนของเข็ม
2.5.2 วิดีทัศน์ซีดี (VCD = Video Compact Disc) ห้องสมุดวิทยาลัย ได้จัดหาสื่อประเภทนี้จากการจัดซื้อเป็นหลัก มีทั้งรายการสารคดีวิชาชีพ สารคดีวิชาการและรายการบันเทิง และเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมาก เพราะให้ได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงในเวลาเดียวกันซึ่งมีข้อดีกว่า ซีดี-รอม การนำเสนอเนื้อหามีลักษณะเหมือนกับเทปโทรทัศน์ปัจจุบันมีเนื้อหาเกี่ยวการศึกษาจำนวนมากและราคาก็ถูกลง
2.5.3 วิดีทัศน์ดิจิตอล (DVD = Digital Video Disc) เป็นแผ่นโลหะ บันทึกสัญญาณภาพและเสียงด้วยดิจิตอล เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีซีดี-รอม วัสดุนี้จะช่วยเพิ่มความจุในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งจุได้มากเป็น 7-25 เท่าของ ซีดี-รอม ทั้งยังให้ภาพและเสียงในระบบดิจิตอลที่ทัดเทียมภาพและเสียง จากโทรทัศน์ สื่อดีวีดีสามารถบันทึกข้อมูลได้เป็นแบบ 2 ด้าน (Double sided) และแบบสองชั้น (Double layer) ความจุจึงมากกว่าซีดี-รอม ธรรมดา ปัจจุบันห้องสมุดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบันเทิงเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น